เมนู

ฉฬวรรคที่ 5



1. ปฐมสังคัยหสูตร


ว่าด้วยผัสสายตนะ 6


[ 128] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ 6 ประการนี้ ที่บุคคล
ไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้
ผัสสายตนะ 6 ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
มนะ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำ
ทุกข์หนักมาให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ 6 ประการนี้แล ที่บุคคล
ไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้.
[129] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ 6 ประการนี้ ที่บุคคล
ฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้
ผัสสายตนะ 6 เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ
ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ 6 ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครอง
ดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า.
[130] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัส-
สายตนะ 6 นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะ
ใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวัง

อายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็น
เพื่อน ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ บุคคลเห็นรูปที่
ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะ
ในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเคืองใจว่า รูปไม่น่ารัก
ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียง
ที่น่ารัก และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่
น่ารัก และพึงบรรเทาความเคืองใจในเสียงที่ไม่น่ารัก
และไม่พึงเคืองใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา (เราได้
ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจ
อันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่สะอาด ไม่น่ารักใคร่
พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และ
ไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อย
เล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึง
ลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้าย
ในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบ
เข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว
ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่าง ๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควร
ยินร้าย เพราะผัสสะอะไร ๆ นรชนทั้งหลายที่ทราม
ปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มี

สัญญา ย่อมวนเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่
ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดี
แล้วในอารมณ์ 6 อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น
จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อม
เป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและ
มรณะ.

จบ ปฐมสังคัยหสูตรที่ 1

ฉฬวรรคที่ 5


อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ 1


ในปฐมสังคัยหสูตรที่ 1 ฉฬวรรคที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อทนฺตา แปลว่า ไม่ฝึกแล้ว. บทว่า อคุตฺตา เเปลว่า
ไม่คุ้มครองแล้ว. บทว่า อรกฺขิตา แปลว่า ไม่รักษาแล้ว บทว่า อสํวุตา
แปลว่า ไม่ปิดแล้ว. บทว่า ทุกฺขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อม
นำมาซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่ง ต่างด้วยทุกข์ในนรกเป็นต้น. บทว่า สุขาธิ-
วาหา โหนฺติ
ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขมีประมาณยิ่ง ต่างด้วยฌาน และ
มรรค ผล. บาลีว่า อธิวาหา ดังนี้ก็มี. ความก็เหมือนกัน.